Union Library Management - v6.2
Union Library Management - v6.2
เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English
 แสดงรายละเอียดบรรณานุกรม
  กลับหน้าหลัก

Marc Display : E-mail record : QR code ปิดหน้าต่าง
 ผู้แต่ง  จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์
 ชื่อเรื่อง  วจ.ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะคลอดของมารดาครรภ์แรก / จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์, เพ็ญนภา วิชกุล และ อารีรัตน์ วิเชียรประภา
 พิมพลักษณ์  จันทบุรี : วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 2553
 เลขเรียก  1670 จ272ค 2553
 รูปเล่ม  80 หน้า ; ตาราง
 หมายเหตุ  รายงานวิจัย
 หมายเหตุ  Summary: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะคลอดของมารดาครรภ์แรก เกี่ยวกับการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การบรรเทาความเจ็บปวด การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด และด้านจิตใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มาคลอดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทรบุรี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดัดแปลงมาจากแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในมารดาวัยรุ่น ของสุพรรณี กัณหดิลก ( 2542 ) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะคลอด หาความตรงตามเนื้อหา ( Content Validity ) ของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและนำไปทดลองใช้ ค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค ( Cronbach's Alpha Coefficient ) ของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองและแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในระยะคลอด เท่ากับ 0.85 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประมาณค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ( Pearson's product moment correlation coefficient )ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การรับรู้ความสามารถของตนเองโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของมารดาครรภ์แรกในระยะคลอด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( r ) เท่ากับ 0.469 อย่างมีนัยสำคัญที่ระวดับ 0.01 และเมื่อแยกรายด้าน พบว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองในระยะคลอดด้านความเข้มแข็งและด้าความคล้ายหรือใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เคยกระทำ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติรกรมการปฏิบัตตัวด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างในระยะคลอด r = 0.389 แลละ r = 0.365 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01--ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้แนะว่า พยาบาลควรประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองของมารดาครรภ์แรกในระยะคลอด ตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก และบูรณาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล ควรเสริมสร้างประสบการณ์ของการเป็นมารดาให้มีความคล้ายและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่มารดาครรภ์แรกสามารถปฏิบัติได้จริง และควรมีการวิจัยสร้างรูปแบบการปฏิบัติตัวในระยะคลอดที่สามารถทำได้ง่ายและเหมาะสมสำหรับมารดาครรภ์แรกต่อไป
 หัวเรื่อง  พฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ
 หัวเรื่อง  รายงานวิจัย
 หัวเรื่อง  ความสามารถของตนเอง
 หัวเรื่อง  ระยะคลอดของมารดาครรภ์แรก
 ผู้แต่งร่วม  เพ็ญนภา วิชกุล
 ผู้แต่งร่วม  อารีรัตน์ วิเชียรประภา
 ผู้แต่งนิติบุคคล  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี
รายการนี้ยังไม่มีแท็ก
คุณยังไม่ได้ล็อกอิน คุณสามารถมีกิจกรรมร่วมกับเว็บไซต์ได้ แต่ต้องล็อกอินก่อน ::
  ล็อกอิน
ลำดับที่ ประเภท เลขเรียก/บาร์โค้ด สถานที่ สถานะ
1. งานวิจัย
งานวิจัย
1670 จ272ค 2553 c.1 
  Barcode: R01670
ห้องสมุด วพ.พระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
►วิจัย
บนชั้น
   [แสดง 1/1 รายการ]

รายการใกล้เคียง
    หัวเรื่อง [พฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ]
    หัวเรื่อง [รายงานวิจัย]
    หัวเรื่อง [ความสามารถของตนเอง]

BibComment


ยังไม่เคยถูกคอมเมนท์

คอมเมนท์ทรัพยากรรายการนี้
  คอมเมนท์: วจความสัมพันธ์ระ..
Bib 13399119882


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.